SAFE INTERNET CAMP

จัดอบรมเองก็ได้ ง่ายจัง เคล็ด (ไม่) ลับ จัดกิจกรรมให้ปังไม่หยุด

ช่วงวัยรุ่นอย่างนี้ มีกิจกรรมน่าสนใจผ่านเข้ามามากมายจนอยากร่วมสนุกไปหมดทุกอย่างเลย นั่นก็งานประกวด นี่ก็ค่ายกิจกรรม แล้วจะทำยังไงดีถ้าเราต้องเป็นคนจัดกิจกรรมเหล่านี้เองบ้าง มานั่งล้อมวง เปิดคัมภีร์ นี่คือเคล็ด (ไม่) ลับ ในการจัดกิจกรรมให้ปัง ปัง ปัง

1. รู้ใจตัวเอง


ลำดับแรกก่อนจะเริ่มทำอะไร สิ่งสำคัญคือต้องรู้ใจตัวเองก่อน เลือกจัดกิจกรรมที่ตัวเองชอบหรืือสนใจ เพราะถ้าเราทำไปอย่างฝืนใจ ยังไงก็ไม่มีทางสนุกหรือชอบสิ่งนั้นขึ้นมาหรอกจริงไหม แต่ถ้าชอบอยู่แล้วล่ะก็ ยังไงก็พร้อมลุย

2. กำหนดประเด็นให้ชัด นี่เรากำลังทำเรื่องอะไร


ถ้าเราพร้อมลุยแล้ว ขั้นต่อไปก็ต้องรู้ด้วยนะว่ากิจกรรมที่เรากำลังจะทำนี้ จัดขึ้นมาเพื่ออะไร มีหัวข้อประมาณไหน และเราเองสนใจประเด็นหรือแง่มุมใดบ้าง การกำหนดประเด็นให้ชัด สำรวจความคิดให้รอบด้าน ก็เป็นขั้นหนึ่งที่ช่วยนำทางให้กิจกรรมที่กำลังทำอยู่ไปต่อได้ และมีโอกาสสำเร็จเพิ่มมากขึ้น อย่างน้อยก็ทำให้รู้ว่ารูปแบบของกิจกรรมจะเป็นยังไง มีใครเป็นผู้เข้าร่วม และสารที่เราส่งไปนี้ใครจะได้ประโยชน์บ้าง

3. ถ้าดึงประเด็นมาจากสถานการณ์จริงได้ก็ยิ่งดี


ตอนกำหนดประเด็น คิดว่าจะทำกิจกรรมอะไร บางทีถ้าเอาปัญหาที่เรากำลังประสบพบเจอจริงๆ มาใช้ตั้งเป็นหัวข้อก็ดีเหมือนกันนะ เพราะนอกจากเราจะรู้ลึก รู้จริงในสิ่งนั้น ยังเหมือนเป็นการเริ่มแก้ไขปัญหานั้นๆ ไปด้วยเลยในตัว และถ้าสามารถคิดกิจกรรมให้สนุกดึงดูดใจคนได้ ผลตอบรับก็น่าจะออกมาดีเลยล่ะ

4. ถ้ามีเพื่อนด้วย อะไรๆ ก็ง่ายขึ้นเยอะ

การทำงานคนเดียว อาจจะสบายตัวกว่าก็จริง แต่การมีเพื่อนร่วมทางเดินไปด้วยกันบางทีก็ทำให้อุ่นใจกว่าเป็นไหนๆ ถ้าตอนนี้มีไอเดียคิดอยากทำอะไร แทนที่จะเริ่มทำอย่างโดดเดี่ยว ลองสะกิดชวนเพื่อนสนิทมาร่วมทีมด้วยกันสิ อาจเป็นการเพิ่มสีสัน ช่วยให้งานสนุกขึ้นได้ด้วยนะ แล้วอย่าลืมแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจนด้วยล่ะ งานจะได้เดินไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจสังเกตหรือเลือกตำแหน่งกันจากความถนัดของแต่ละคนก็ได้ และบางครั้งเมื่อเริ่มลงมือทำจริงแล้ว อาจจะมีการกระทบกระทั่ง มีความคิดที่ขัดแย้งกันได้ ดังนั้น ความเข้าอกเข้าใจกันคือสิ่งสำคัญที่ต้องหยิบยกมาตั้งไว้กลางใจเลย ถ้ามีปัญหาก็หันมาพูดคุยปรับความเข้าใจกันนะ

5. จัดกิจกรรมก็ต้องมีคน ประชาสัมพันธ์ยังไงให้มีคนมาสมัคร


การทำงานคนเดียว อาจจะสบายตัวกว่าก็จริง แต่การมีเพื่อนร่วมทางเดินไปด้วยกันบางทีก็ทำให้อุ่นใจกว่าเป็นไหนๆ ถ้าตอนนี้มีไอเดียคิดอยากทำอะไร แทนที่จะเริ่มทำอย่างโดดเดี่ยว ลองสะกิดชวนเพื่อนสนิทมาร่วมทีมด้วยกันสิ อาจเป็นการเพิ่มสีสัน ช่วยให้งานสนุกขึ้นได้ด้วยนะ แล้วอย่าลืมแบ่งหน้าที่กันให้ชัดเจนด้วยล่ะ งานจะได้เดินไปอย่างรวดเร็ว โดยอาจสังเกตหรือเลือกตำแหน่งกันจากความถนัดของแต่ละคนก็ได้ และบางครั้งเมื่อเริ่มลงมือทำจริงแล้ว อาจจะมีการกระทบกระทั่ง มีความคิดที่ขัดแย้งกันได้ ดังนั้น ความเข้าอกเข้าใจกันคือสิ่งสำคัญที่ต้องหยิบยกมาตั้งไว้กลางใจเลย ถ้ามีปัญหาก็หันมาพูดคุยปรับความเข้าใจกันนะ

6. เตรียมงานมานานแค่ไหน วัดผลที่วันจริง

ถึงขั้นตอนอื่นๆ จะสำคัญ แต่สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าผลลัพธ์จะออกมาดีหรือร้าย ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับ วันจัดกิจกรรมจริงๆ นะ ฉะนั้นมีพลังเท่าไหร่ ใส่ไปให้เต็มที่เลย

7. สอบถามฟีดแบ็ก พร้อมนำมาประชุมแก้ไข

หลังงานจบอย่าลืมสอบถามความคิดเห็น ความรู้สึกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยนะ จะได้เรียนรู้ข้อผิดพลาดของตัวเอง จากนั้นมาตั้งวง เปิดประชุมกันว่าใครเจอปัญหาอะไรบ้างตลอดการทำงาน อะไรคือสิ่งที่ดี อะไรคือสิ่งที่ควรแก้ไข จดจำไว้แล้วนำไปปรับปรุงในงานหน้านะ