SAFE INTERNET CAMP

‘คำพูดที่ไม่ยั้งคิดสร้างร่องรอยในใจผู้ฟังเสมอ’ เลิกบูลลี่โดยไม่รู้ตัวกันเถอะ!

DSRU Happiness โดยทีม DSRU GEN โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ในโลกของเด็กและวัยรุ่นอย่างเราๆ สังคมกลุ่มใหญ่กลุ่มเดียวที่พวกเรามีคือกลุ่มเพื่อน ในโรงเรียน ซึ่งมีอิทธิพลในการหล่อหลอมพฤติกรรมอย่างมาก เพราะฉะนั้นสังคมในโรงเรียนที่มีความเอื้ออารีต่อกันจึงเป็นรากฐานสำคัญในการใช้ชีวิตที่ถูกต้องและดีงามในอนาคต

แต่ปัญหาส่วนมากที่เราพบคือ หลายครั้งเพื่อน พี่ น้อง ร่วมสถาบันเดียวกันทะเลาะเบาะแว้งกัน และเรื่องราวมักไม่ได้จบลงแค่ในโลกจริง แต่บานปลายไปจนถึงพื้นที่ของโลกออนไลน์ด้วย เราพบว่าเพื่อนนักเรียนด้วยกันเองบางส่วนต้องเจอกับเหตุการณ์ Cyberbullying และ Hate Speech ในสื่อสังคมออนไลน์

กลุ่ม DSRU GEN จึงได้จัดทำโครงการ ‘DSRU Happiness’ ที่ได้หยิบเอาปัญหาใกล้ตัวของเยาวชน อย่าง Cyberbullying และ Hate Speech ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนมาเป็นโจทย์สำหรับการต่อยอดโครงการ Young Safe Internet Leader Camp Version 1.0 เพื่อช่วยกันหาวิธีแก้ปัญหา ในแบบที่พวกเราพอจะทำได้

หัวใจสำคัญของ DSRU Happiness นั้นตรงตามชื่อ พวกเราอยากสร้างความสุขให้เกิดขึ้น
ในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) โดยตั้งมั่นว่าโครงการนี้จะต้องให้ความรู้เรื่อง Cyberbullying และ Hate Speech อย่างจริงจัง และลดจำนวนผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ Cyberbullying ให้ได้




พวกเรา DSRU GEN ตัดสินใจจัดกิจกรรมให้เพื่อนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 200 คน และได้วางแผน การจัดกิจกรรมเป็น 3 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่

ฐานที่ 1

กิจกรรมตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิดีโอให้ความรู้

เราเริ่มกิจกรรมแรกโดยการใช้สื่อที่เสพง่ายที่สุดอย่างวิดีโอในการสร้างความตระหนักเรื่องการใช้สื่อให้กับเพื่อนๆ โดยทีมได้เลือกคลิปของดีแทคที่ชื่อ ‘Thank you for sharing’ มาสะท้อนเรื่องราว> Cyberbullying ในชีวิตจริงของนักเรียน ซึ่งหลังจากที่ได้ดูจนจบแล้วเราให้เพื่อนๆ แสดงความคิดเห็น โดยทีมของเรา จะคอยจดบันทึกความคิดเห็นเหล่านั้นเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมต่อๆ ไป

ฐานที่ 2

กิจกรรมบอกเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับ Cyberbullying และ Hate Speech

เหลังจากที่พวกเราปูพื้นฐานเรื่องการกลั่นแกล้งในสื่อสังคมออนไลน์แล้ว ในกิจกรรมที่สองเราได้เปิดบัญชีใช้งานอินสตาแกรมในชื่อ ‘dsru_happiness’(www.instagram.com/p/B675u_DAhbS/) เพื่อเป็นช่องทางสื่อสารระหว่างทีมกับเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยกิจกรรมนี้จะให้เพื่อนๆ ส่งเรื่องราวเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งเข้ามาทาง direct message ไม่ว่าจะในฐานะของคนที่เคยถูกกลั่นแกล้ง หรือคนที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้ง ทั้งในโลกจริงและพื้นที่ออนไลน์

กิจกรรมที่สองนี้ทำให้ทีมได้รับรู้ความคิดและกระบวนการคิดของเพื่อนๆ ทั้งฝ่ายผู้กระทำ เช่น เราได้ทราบว่า คนที่กลั่นแกล้งคนอื่นบางครั้งก็ไม่ได้มีเจตนา เพียงแต่ต้องการที่จะหยอกล้อกับเพื่อนเท่านั้น ขณะเดียวกัน ก็ได้รับรู้มุมของคนที่ถูกแกล้งว่าเขาอ่อนไหวกับคำพูดหรือพฤติกรรมแบบไหน โดยหลังจากกิจกรรมจบ เราได้สรุปข้อมูล เพื่อนำเสนอให้เพื่อนที่เข้าร่วมโครงการได้รับรู้ความคิดเห็นจากทั้งสองมุมและสร้างความเข้าใจกันมากขึ้น

ฐานที่ 3

กิจกรรม Good Word Bad Word

กิจกรรมสุดท้ายนี้เราออกแบบมาเพื่อช่วยสะท้อนให้คนที่เข้าร่วมตระหนักถึงความสำคัญของ ‘คำพูด’ โดยเริ่มจากการให้เพื่อนๆ จับกลุ่มกัน แล้วเรา จะแจกกระดาษแผ่นใหญ่ให้แต่ละกลุ่มลิสต์คำหยาบคายหรือคำพูดในแง่ลบลงไป จากนั้นก็ให้โจทย์ทุกทีมว่า ‘จงทำให้คำที่เขียนลงไปในกระดาษหายไปภายในเวลา 2 นาที’ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะใช้วิธีที่ต่างกันในการลบคำเหล่านั้นออกให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการขีดฆ่า การระบายสีทับ หรือการใช้ยางลบ

กิจกรรมสุดท้ายนี้เราออกแบบมาเพื่อช่วยสะท้อนให้คนที่เข้าร่วมตระหนักถึงความสำคัญของ ‘คำพูด’ โดยเริ่มจากการให้เพื่อนๆ จับกลุ่มกัน แล้วเรา จะแจกกระดาษแผ่นใหญ่ให้แต่ละกลุ่มลิสต์คำหยาบคายหรือคำพูดในแง่ลบลงไป จากนั้นก็ให้โจทย์ทุกทีมว่า ‘จงทำให้คำที่เขียนลงไปในกระดาษหายไปภายในเวลา 2 นาที’ ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะใช้วิธีที่ต่างกันในการลบคำเหล่านั้นออกให้เร็วที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการขีดฆ่า การระบายสีทับ หรือการใช้ยางลบ


“ถึงแม้จะพยายามเอาสติกเกอร์มาปิดหรือลบคำพูดที่ไม่ดีออกไป สิ่งที่เราเขียนก็ยังคง ทิ้งร่องรอยไว้อยู่ดี เปรียบเหมือนกับคนที่พูดไม่ดีใส่คนอื่นโดยไม่ทันได้คิด”

“ได้เห็นมุมมองของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการบูลลี่ทั้งในชีวิตจริงและโลกออนไลน์ ว่ามันมีผลกระทบกับตัวเขาร้ายแรงกว่าที่เราคิดมาก”

“การได้เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ทำให้ฉันได้รู้ว่า โลกออนไลน์รวดเร็วมาก และสามารถเปลี่ยนชีวิตคนคนหนึ่งได้”

ประโยคเหล่านี้คือผลตอบรับจากเพื่อนๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสามรูปแบบ ซึ่งนอกจากคำพูดที่เป็นฟีดแบ็กในแง่บวกแล้ว ทีมของเราพบว่าเพื่อนๆ หลายคนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น อย่างน้อยที่สุดคือพวกเขาได้รู้จักกับคำว่า Cyberbully และนำมาใช้แยกแยะพฤติกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น เขาสามารถนิยามและตั้งคำถามได้ว่าการกระทำ แบบไหนคือการหยอกเล่น แบบไหนคือการกลั่นแกล้ง

ถึงแม้โครงการที่ทีม DSRU GEN จัดขึ้นจะไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาทั้งหมดภายในระยะเวลาอันสั้น แต่แรงกระเพื่อมของเพื่อนๆ ที่พวกเราสังเกตเห็นได้ก็นับว่าเป็นผลลัพธ์ที่ทำให้ทีมของเราพึงพอใจ และถือว่าโครงการ DSRU Happiness ที่ตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะนำความสุขมาสู่โรงเรียนของพวกเราได้สำเร็จไปแล้วในระดับหนึ่ง

หากคุณอ่านมาถึงตรงนี้แล้วอยากลองชมคลิปที่เราใช้เปิดในกิจกรรมที่หนึ่ง ซึ่งช่วยสร้างความตระหนักเรื่อง
Cyberbullying และ Hate Speech ให้กับเพื่อนๆ ก็คลิกที่นี่เพื่อรับชมได้เลย
ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อดูจบแล้ว คุณสามารถส่งต่อคลิปนี้ให้กับเพื่อนๆ ที่คุณห่วงใยได้ด้วย

เคล็ดลับการจัดกิจกรรมสไตล์ทีม DSRU GEN

1. สำรวจพฤติกรรมของเพื่อนๆ ในโรงเรียนและนอกโรงเรียน ทั้งในโลกจริงและสื่อสังคมออนไลน์
2. เลือกปัญหาที่อยากจะแก้ไขและกลุ่มเป้าหมายที่อยากสื่อสารให้ชัดเจน
3. คิดรูปแบบกิจกรรมที่เข้าใจง่าย สนุก และสร้างการมีส่วนร่วม แต่ต้องไม่ลืมการตั้งเป้าหมาย ในทุกกิจกรรมเอาไว้ด้วย


#ส่องสกิลเด็ด

การรับฟังความคิดเห็นจากหลายมุมมอง, การประมวลผลข้อมูลจากกิจกรรมที่จัดขึ้น, การสื่อสารให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

สมาชิกทีม DSRU GEN

สมาชิกทีม DSRU GEN

ด.ญ.พชรวรรณ จันทรมงคล, ด.ญ.สุทธิกานต์ กิจใบ,
ด.ญ.ชลิตา วงษ์นวม, ด.ญ.พิชามญช์ กรุมรัมย์,
ด.ช.ณัฐดนัย สินกุลเศธษฐ์, อาจารย์อรุณรัตน์ ทวีกุล



ภาพโครงการของพวกเรา